LOREM IPSUM DOLOR

Archives

Mobile: 02-428-6688 | Mail: journeylaos@gmail.com

บุญบั้งไฟ

บุญบั้งไฟ

บุญบั้งไฟ ตามความเชื่อของประเพณีบุญบั้งไฟลาวนั้น ก็คือ การยิงบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งเปรียบเสมือนสรวงสวรรค์อันเป็นที่ประทับของเหล่านางฟ้าเทวดาเพื่อเป็น การยั่วยุให้กริ้วโกรธและปล่อยน้ำฝนลงสู่พื้นดิน ซึ่งนับเป็นพิธีกรรม และการเฉลิมฉลองที่มีความพิเศษที่สุดอีกงานหนึ่ง

 

ประเพณีดังกล่าว จะมีขึ้นก็ต่อเมื่อภาวะฝนแล้งเข้าสู่จุดย่ำแย่สุดๆ และชาวนาต้องการน้ำเพื่อเริ่มการปักดำนา สิ่งที่ชาวบ้านเชื่อก็คือต้องวิงวอนไปยังเทพดาบนสวรรค์เพื่อขอฝน และทางเดียวที่จะสื่อสารไปถึงได้ก็คือการจัดพิธีบุญบั้งไฟขึ้นนั่นเอง

เมื่อ 25 ปีก่อน การจุดบั้งไฟยังจัดขึ้นที่บริเวณหาดทรายหน้าโรงแรมล้านช้าง แต่ปัญหาก็คือมีอยู่บ่อยๆ ที่บั้งไฟข้ามแม่น้ำโขงไปตกลงยังฝั่งไทย มีอยู่ครั้งหนึ่งบั้งไฟก็ไปตกลงอาคารของโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมือง ทำให้ไฟไหม้โรงเรียนทั้งหลัง หลังจากนั้นก็จึงมีการย้าย “ค้าง” หรือฐานจุดบั้งไฟไปที่ลานพระธาตุหลวง เพื่อส่งบั้งไฟออกไปทางท้องนา

เมื่อชาวบ้านในท้องถิ่นใดตัดสินใจจัดประเพณีบุญบั้งไฟขึ้น ก็จะได้ชักชวนชาวบ้านจากหมู่บ้านใกล้เคียงไปเข้าร่วมด้วย ช่วงเวลาดังกล่าวนี้จึงเป็นช่วงที่พระสงฆ์องค์เจ้า ต่างก็รับนิมนต์ชุกเป็นพิเศษ ในฐานะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำบั้งไฟ รู้สูตรลับการผสมดินประสิวกับถ่านเชื้อเเพลิง ซึ่งเป็นสูตรของใครของมัน เพื่อให้ได้พลังที่แรงที่สุดในการขับเคลื่อนบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้า

ถ้าเป็นบั้งไฟขนาดเล็กโดยปกติแล้วจะมีน้ำหนักประมาณ 1 ถึง 5 กก. ส่วนที่เรียกกันว่า “บั้งไฟหมื่น” จะมีน้ำหนักประมาณ 12 กก. และ “บั้งไฟแสน” น้ำหนักประมาณ 120 กก. ซึ่งเป็นบั้งไฟที่มีขนาดใหญ่ ในงานจะมีการจัดประกวดแข่งขันบั้งไฟที่ประดับตกแต่งสวยงามที่สุด หรือมีความคิดสร้างสรรค์ดีที่สุด รวมทั้งการประกวดระยะทางที่บั้งไฟสามารถทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยการจับเวลา

เมื่อทำบั้งไฟเสร็จสมบูรณ์แล้ว ชาวบ้านทั้งหมดจะร่วมกันนำไปเก็บรักษาไว้ก่อนที่ “หอพิบาน” ซึ่งเป็นศาลาขนาดเล็ก โดยมีความเชื่อว่าเป็นการทำเพื่อพิทักษ์รักษาจิตวิญญาณของหมู่บ้านไว้นั่นเอง

ส่วนพิธีแห่จะมีผู้ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างโลกของวิญญาณ กับโลกมนุษย์ ซึ่งจะคอยเต้นรำอนำหน้าบั้งไฟ แห่ไปรอบหมู่บ้าน โดยจะหยุดแวะบ้านทุกหลังเพื่อดื่มสุราที่เจ้าของบ้านเตรียมไว้ถวาย พร้อมทั้งท่องบทสวดมนต์สวดคาถาต่างๆ และร้องแห่ เช่นเดียวกันกับการ “เซิ้งบั้งไฟ” ในอีกฝั่งหนึ่งของแม้น้ำโขง

หลายครั้งบทเซิ้งจะมีเนื้อหาและท่วงทำนองเข้าขั้นลามก อันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพิธีกรรมดังกล่าว แสดงถึงภาวะเจริญพันธุ์ การเกิดใหม่ของทารก ซึ่งสื่อความหมายถึงสภาวะแห่งความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง โดยที่บรรดาหญิงสาวที่ร่วมขบวน บ้างก็จะถือไม้แกะสลักสัญลักษณ์เพศชายทาด้วยสีแดงสด อีกคนถือเต่าเป็นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนเพศหญิง

บ้างก็ถือหุ่นกระบอกที่แสดงท่าทางการร่วมเพศ ซึ่งรูปทรงของบั้งไฟก็สื่อความหมายถึงสัญลักษณ์เพศชายอยู่แล้วโดยลักษณะของตัวมันเอง ดั้งนั้นชาวบ้านจึงเชื่อว่าเมื่อบั้งไฟทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้ว การก่อกำเนินเกิดฝน และความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

ชาวบ้านทั้งหญิงชายต่างก็แต่งแต้มสีเพื่อเป็นการปลอม และอำพรางตัวเอง ผู้ชายปลอมเป็นหญิง เพื่อทำให้สวรรค์ตื่นตกใจ เกิดอาเพศ เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฝนตกในที่สุด

หลังจากขบวนแห่ บั้งไฟก็จะถูกนำมาวางลงบน “ค้าง” ที่ทำจากไม้ ทุกคนใจจดใจจ่อไปที่ชนวนที่ไฟกำลังลามไหม้ คอยลุ้นว่าบั้งไฟจะไปได้ไกลแค่ไหน มีบางคนไปเต้นรำด้วยท่าทางยียวนกวนโมโห ระหว่างที่บั้งไฟทะยานออกจากฐานด้วยเสียงดังสนั่นหวั่นไหว สู่ท้องฟ้าตามหลังด้วยควันที่เทาดำเป็นแนวยาวตามไปติดๆ และทุกคนเงยหน้า ทุกสายตาต่างก็จับจ้องไปที่การเคลื่อนไหวของบั้งไฟนั้น

แต่เมื่อใดก็ตามที่บั้งไฟนั้นไปได้ไกลได้เพียงไม่กี่เมตร และพุ่งดิ่งลงสู่พื้นเมื่อนั้นเองชาวบ้านในที่นั้นก็จะร่วมกันระเบิดเสียงหัวเราะออกมา ส่วนเจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงโคลน ที่เรียกว่า “ลงตม”

การปล่อยบั้งไฟยังหมายรวมความเชื่อที่ว่า เป็นการถวายพระเพลิงองค์พระศาสดา เมื่อครั้งพุทธกาลที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จปรินิพพาน เหล่าเทวดาจึงได้ส่งบั้งไฟเพื่อเป็นการจุดไฟถวายพระเพลิงอีกด้วย.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

October 2024
M T W T F S S
« May    
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031