บุญข้าวจี่เป็นการทำบุญในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ตอนค่ำจะมีการเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ ซึ่งการทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านอาจจะไปรวมกันที่วัด หรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเองแล้วนำไปถวายพระภิกษุสามเณรที่วัด มีการไหว้พระรับศีลพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และตักบาตรด้วยข้าวจี่ แล้วยกไปถวายพร้อมภัตตาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร ซึ่งมูลเหตุที่มีการทำบุญข้าวจี่ เนื่องมาจากสมัยพุทธกาลมีนางทาสชื่อปุณณทาสีได้นำแป้งข้าวจี่(แป้งทำขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางก็คิดว่าขนมแป้งข้าวจี่เป็นเพียงขนมของทาสที่ต่ำต้อย พระพุทธองค์คงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้จิตใจของนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ต่อหน้านาง ทำให้นางเกิดความปิติดีใจชาวอีสานจึงได้แบบอย่างในการทำแป้งข้าวจี่นี้และพากันทำบุญข้าวจี่ถวายพระมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงเดือนสามจะมีการทำข้าวจี่ถวายพระมาจวบจนปัจจุบัน (การทำข้าวจี่ของชาวอีสานในช่วงเดือน 3 นั้นเป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น ดังนั้นการจี่ข้าวในช่วงนี้ชาวบ้านก็จะได้รับไออุ่นจากการนั่งล้องวงกันจี่ข้าวอีกด้วย) การทำข้าวจี่ของชาวอีสานนั้นปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาปั้นเป็นก้อน แล้วนำไปย่างบนไปอ่อนๆบางคนอาจใช้ไข่เหลืองทาเพื่อให้มีสีที่น่ารับประทาน หรือใส่น้ำอ้อยที่ใส้ข้าวจี่ จี่ ภาษาอีสานหมายถึง ปิ้งหรือย่าง
ขอบคุณที่มา : http://toajaa.blogspot.com/
Leave a Reply